Web
                        Analytics
สรุปสถานการณ์การลงทุน วันที่ 25/11/2019

สรุปสถานการณ์การลงทุน วันที่ 25/11/2019

26 Nov 2019   |    1032


Global Economy

[Trade war] ประเด็นสำคัญที่ต้องติดตาม คือ สหรัฐมีกำหนดการขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากจีนในวันที่ 15 ธ.ค. (ภาษี 15% จากสินค้านำเข้าจากจีนวงเงิน 1.56 แสนล้านดอลลาร์) โดยระหว่างนี้ต้องติดตามการเจรจาการค้าว่ามีผลสำเร็จหรือไม่ โดยเบื้องต้นมีกำหนดการเจรจาการค้าเฟส 1 ที่รอเซ็นสัญญา ในขณะที่ประธานาธิบดีสหรัฐ โดนัลด์ ทรัม แถลงขู่ขึ้นภาษีเพิ่มเติมกับสินค้าจีนในวันที่ 15 ธ.ค. หากไม่สามารถบรรลุข้อตกลงทางการค้าร่วมกันได้ ทำให้ภาพรวมการเจรจาการค้า ณ ตอนนี้ มีความไม่แน่นอนสูง

[Trade war] วุฒิสภาสหรัฐลงมติด้วยเสียงเอกฉันท์ ผ่านร่างกฎหมายสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตยฮ่องกง ซึ่งกำหนดให้กระทรวงต่างประเทศประเมินอำนาจปกครองตนเองของฮ่องกงทุกปี เพื่อตัดสินใจขยายเวลาการให้สิทธิพิเศษทางการค้าแก่ฮ่องกงและอนุญาตให้ใช้มาตรการคว่ำบาตรต่อบุคคลหรือองค์กร ที่ละเมิดเสรีภาพในฮ่องกง และมีมติเห็นชอบร่างกฎหมายคุ้มครองฮ่องกงอีกฉบับ ที่ห้ามบริษัทสหรัฐส่งออกอุปกรณ์ที่ใช้ควบคุมฝูงชน เช่น แก๊สน้ำตาและกระสุนยางแก่ฮ่องกง ขั้นตอนต่อไป สองสภาจะปรับแก้ไขให้เป็นร่างกฎหมายฉบับเดียวและลงมติเห็นชอบเพื่อส่งให้ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ลงนามบังคับใช้ ส่งผลในเชิงลบต่อทิศทางการเจรจาการค้า

[Trade war] Hauwei ได้รับการต่อใบอนุญาตในการทำธุรกิจกับบริษัทสหรัฐเพิ่มเติมอีก 2 สัปดาห์จากเดิมที่ได้รับการต่ออายุ 90 วันในครั้งก่อนหน้า

[EU] เศรษฐกิจยุโรป GDP ขยายตัว 1.2% YoY และ 0.2% QoQ

Thai Economy

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ประกาศการเติบโตของ GDP ไทยในไตรมาสที่ 3 ขยายตัวในระดับที่ต่ำ 2.4% YoY โดยปัจจัยหลักจากภาคส่งออกสินค้ายังหดตัวลงต่อเนื่อง และภาคเศรษฐกิจทั้งการบริโภคและการลงทุนชะลอตัว

จากประกาศการเติบโตของ GDP ไทยขยายตัวต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์หลายสำนักคาดไว้ ส่งผลให้มีโอกาสที่นักวิเคราะห์จะปรับลดประมาณการ GDP ปี 2562 ลง โดยสศช. ได้มีการปรับทบทวนประมาณการจีดีพีลงในปี 2019 โดยปรับลดลงจากระดับ +3.0% YoY มาอยู่ที่ระดับ +2.6% และศูนย์วิจัยเศรษฐกิจของธนาคารไทยพาณิชย์ปรับเป้า GDP ลงเหลือ 2.8% และตัวเลขส่งออก -2.5% สำหรับปี 2562

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคไทย ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง 8 เดือนติดต่อกัน จาก 80.2 จุดมาอยู่ที่ 70.70 และยอดค้าปลีกในเดือนสิงหาคม -2.8%YoY ติดลบครั้งแรกในรอบ 32 เดือน สะท้อนถึงความอ่อนแอของการบริโภคภายในประเทศ ประกอบกับธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกค่อนข้างถดถอย จึงมีข่าวการลดชั่วโมงแรงงาน, หยุดการผลิตชั่วคราว รวมถึงการปลดพนักงานต่อเนื่อง คาดหวังกำลังซื้อถดถอยต่อเนื่องจากรายได้ของแรงงานที่ลดลง

ภาครัฐปรับเป้าหมายตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติปีนี้ลดลง เป็น 38.27 ล้านคนจากเป้าหมาย 41 ล้านคน สาเหตุส่วนหนึ่งจากจำนวนนักท่องเที่ยวคนจีนที่หายไปและยังไม่ฟื้นกลับมาเท่ากับตัวเลขในปี 2560

กรอบการลงทุน

ดัชนี SET ณ สิ้นวันศุกร์ อยู่ที่ระดับ 1597.72 จุด จากสัปดาห์ก่อนหน้าที่ 1602.23 จุด ปรับตัว -0.28% ยังยืนเหนือระดับ 1570-1580

คาดหวังแรงซื้อจากกองทุน LTF ซึ่งนักลงทุนจะซื้อกองทุนในช่วง 1-2 เดือนท้ายของปี พยุงดัชนีตลาดหลักทรัพย์

แนวต้านระยะสั้น คือ 1750,1716,1677,1650 แนวรับระยะสั้นคือ 1600,1570,1545 (กรอบ Correction)

ในระยะกลาง แนวรับสำคัญมากคือ 1570+-10, และแนวต้านที่ 1770

ประเมินตลาด sideway ในกรอบกว้าง เนื่องจากเศรษฐกิจในภาพรวมทั่วโลกส่งสัญาณชะลอตัวลงอย่างชัดเจน แต่ชดเชยด้วยรัฐบาลไทยมีมาตรการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องเพื่อชะลอการถดถอยของเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องระมัดระวังปัจจัยความเสี่ยง crisis ที่อาจพัฒนาขึ้นได้ โดยเฉพาะในภาวะที่เศรษฐกิจมีความเปราะบางมากยิ่งขึ้น


Share this article: