สอนการเงินให้ลูก ด้วย 6 พื้นฐานการเงิน แบบไม่สร้างความกดดัน
14 Jun 2024 | 289
- Deepscope Site Admin
จากงานวิจัยจากมหาวิทยาลัย Wisconsin-Madison ที่สรุปว่าเด็กในวัย 3 ขวบเข้าใจแล้วว่า เงินเอาไว้ใช้แลกเปลี่ยนเป็นสิ่งของที่เราต้องการ และยิ่งไปกว่านั้น งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ได้สรุปไว้ว่า นิสัยต่างๆที่จะช่วยให้ลูกบริหารการเงินของตนเองได้นั้น จะถูกหล่อหลอมเสร็จสิ้นแล้ว เมื่อลูกอายุ 7ขวบ!!!
ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกอยู่ในวัยอนุบาลและประถม ช่วงนี้เป็นเวลาที่ดีมากที่จะเริ่มปลูกฝังทัศนคติและสร้างนิสัยที่ดีทางการเงิน
ถ้ายังไม่แน่ใจว่าจะเริ่มอย่างไร Deepscope มี 6 วิธีสอนลูกเรื่องการเงินมาฝากกัน
แยกให้ออกระหว่างความ จำเป็น vs อยากได้
แยกให้ออกระหว่างความ จำเป็น vs อยากได้การสอนให้ลูกรู้ถึงความแตกต่างของแนวคิดเรื่องความ “จำเป็น” กับ“อยากได้” สิ่งของต่างๆ เป็นทักษะสำคัญที่จะปูพื้นฐานสู่วินัยการเงินที่ดี “จำเป็น” คือต้องมีเพื่อการดำรงชีวิต “ต้องการ” คือมีก็ดี แต่ถ้าไม่มีก็สามารถใช้ชีวิตอยู่ได้ การสอนให้เด็กจัดลำดับคุณค่าสิ่งของต่างๆ เริ่มต้นจากที่เขาเห็นในชีวิตประจำวัน เช่น อาหาร น้ำดื่ม บ้าน ช็อกโกแลต ไอศกรีม สเก็ตบอร์ด ฯลฯ เป็นก้าวแรกที่เด็กจะได้เรียนรู้การจัดลำดับให้ความสำคัญในการใช้เงินกับสิ่งที่จำเป็น
เงินไม่ได้ออกมาจากตู้เฉยๆ และไม่มีบัตรวิเศษเสกของได้
เงินไม่ได้ออกมาจากตู้เฉยๆ และไม่มีบัตรวิเศษเสกของได้การเห็นเงินไหลออกมาจากตู้ ATM หรือพ่อแม่ใช้บัตรรูดซื้อของ อาจทำให้เด็กไม่ตระหนักว่าเงินเป็นของที่มีจำกัด พ่อแม่ต้องอธิบายให้ลูกเข้าใจว่าเงินมาจากการทำงาน โดยเรานำไปเก็บไว้ในธนาคาร จะถอนออกมาเมื่อจำเป็นต้องใช้ และการใช้บัตรเครดิตรูดซื้อของ ก็ต้องจ่ายคืนเงินที่ซื้อของไปตอนปลายเดือน
เรียนรู้การทำงบการเงิน
เรียนรู้การทำงบวิธีให้เด็กเรียนรู้ได้ดีที่สุดคือเปิดโอกาสให้เขาบริหารจัดการเงินเอง ถ้าเขาได้ค่าขนมแล้วใช้ซื้อขนมเล็กๆ น้อยๆ จนหมด ไม่ได้แบ่งมาเก็บออม เขาก็จะไม่มีเงินมาจะซื้อของเล่นชิ้นใหญ่ที่อยากได้ ประสบการณ์เหล่านี้จะสอนให้เขารู้ถึงผลของการใช้จ่ายเงินโดยไม่มีการวางแผน
ช้าๆ ได้พร้าเล่มงาม
ช้าๆ ได้พร้าเล่มงามการฝึกให้เด็กอดทนรอคอย (delayed gratification) จะช่วยสร้างภูมิต้านทานต่อโปรโมชั่นพวก “ซื้อก่อน จ่ายทีหลัง” ที่เป็นสาเหตุของการเป็นหนี้บัตรเครดิต และสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือ หยุดการซื้อที่เกิดจากการกระตุ้นอารมณ์ ณ จุดขาย (Impulse Buying) โดยก่อนจะออกไปซื้อของ ให้ครอบครัวช่วยกันตั้งงบที่จ่าย ทำลิสต์รายการซื้อของ ประมาณราคาของแต่ละอย่าง เปรียบเทียบราคาของออนไลน์ และการใช้คูปองลดราคา สิ่งเหล่านี้จะปลูกฝังให้ลูกรู้จักการซื้อของอย่างคุ้มค่าและเคยชินกับการวางแผนก่อนออกไปซื้อของ
ดูโฆษณาแล้วคิดตาม
ดูโฆษณาแล้วคิดตามสื่อโฆษณามีอิทธิพลต่อความคิดของผู้คน ยิ่งในสมัยนี้ที่มีการโฆษณาสินค้าในสื่อทุกช่องทาง ด้วยรูปแบบหลากหลาย พ่อแม่ควรอธิบายวิธีที่โฆษณาชักจูงใจคนให้ซื้อของให้ลูกได้เรียนรู้ไว้ด้วย ซึ่งการพยายามกระตุ้นให้เด็กรู้จักตั้งข้อสงสัยสิ่งที่สื่อโฆษณาเผยแพร่ จะช่วยสร้างภูมิต้านทานความน่าหลงใหลของสินค้าในโฆษณา รวมถึงการหลงเชื่อข้อความสื่อสารชักจูงของโฆษณาโดยไม่ไตร่ตรอง
รู้จักการแบ่งปัน
รู้จักการแบ่งปันการฝึกให้เด็กแบ่งเงินส่วนหนึ่งไว้แบ่งปัน สอนให้เด็กรู้ว่าเงินของเขาสามารถนำไปช่วยให้ชีวิตของคนอื่นดีขึ้น แทนที่จะแค่เอาไปซื้อของ ซึ่งการแบ่งปันช่วยเหลือคนอื่นไม่จำเป็นต้องเป็นจำนวนมาก เพียงแค่เงินเล็กน้อยจากหลายๆ คนก็สร้างความเปลี่ยนแปลงได้