Web
                        Analytics
5 จิตวิทยาการลงทุนที่ไม่ควรมี ถ้าอยากประสบความสำเร็จในการลงทุน  https://deepscope.com/th/dashboard/ แหล่งข้อมูล- https://elearning.set.or.th/SETGroup/courses/1044/infopubhtml5.com/wbuwn/qslh/- https://apthai.com/th/blog/know-how/type-of-investment ">  https://deepscope.com/th/dashboard/ แหล่งข้อมูล- https://elearning.set.or.th/SETGroup/courses/1044/infopubhtml5.com/wbuwn/qslh/- https://apthai.com/th/blog/know-how/type-of-investment " />  https://deepscope.com/th/dashboard/ แหล่งข้อมูล- https://elearning.set.or.th/SETGroup/courses/1044/infopubhtml5.com/wbuwn/qslh/- https://apthai.com/th/blog/know-how/type-of-investment " />

5 จิตวิทยาการลงทุนที่ไม่ควรมี ถ้าอยากประสบความสำเร็จในการลงทุน

03 Jul 2024   |    320


จิตวิทยาการลงทุน คือ สภาพจิตใจ, สภาวะอารมณ์ และพฤติกรรมของนักลงทุน ที่มีต่อการตัดสินใจทางการลงทุน

ทำไมการศึกษาจิตวิทยาการลงทุน จึงสำคัญ?
✅ ช่วยให้นักลงทุนเข้าใจตัวเอง ว่ามีความคิด อารมณ์ และพฤติกรรมอย่างไร
✅ ช่วยให้นักลงทุนตัดสินใจได้อย่างมีเหตุผล โดยไม่ให้อารมณ์มาชี้นำ
✅ ช่วยให้นักลงทุนเอาชนะกับดักทางจิตวิทยา ที่อาจนำไปสู่การตัดสินใจที่ผิดพลาด

5 จิตวิทยาการลงทุนที่ไม่ควรมี ถ้าอยากประสบความสำเร็จในการลงทุน
คือ
1. เชื่อคนอื่นมากเกินไป
2. ฝังใจกับอดีต ในหุ้นตัวเดิมๆ
3. ไม่กล้าซื้อหุ้นราคาสูง
4. ไม่ทำตามแผนที่วางไว้
5. Overtrade ซื้อขายบ่อยเกินไป
มาลงรายละเอียดแต่ละข้อกัน

1.เชื่อคนอื่นมากเกินไป
นักลงทุนมือใหม่มักจะขาดความรู้และประสบการณ์
และหลาย ๆ คนที่เทรดในตลาดหุ้น มักจะมีกลุ่มเพื่อน หรือกลุ่มคุยหุ้น ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ดีเพราะมันจะทำให้เราสนุกกับการเทรดมากขึ้น, มีคนให้เราปรึกษา และทำให้เรามีความรู้เพิ่มขึ้นด้วยจากการแลกเปลี่ยนความรู้กันในกลุ่ม

แต่สิ่งที่นักลงทุนต้องระวังก็คือ อย่าเชื่อคนอื่นมากเกินไป เวลาที่เราปรึกษากับเพื่อนในกลุ่มมันก็จะมีการแนะนำหุ้นกันมา ซึ่งไม่แนะนำให้เราเชื่อ และลงทุนในหุ้นที่ได้มาจากคนอื่นทั้งหมด แต่ไม่ได้เพราะว่าพวกเขาไม่เก่งนะ แต่เป็นเพราะว่า
✅ การเชื่อคนอื่นจะทำให้เราไม่ได้พัฒนาตัวเอง เช่น
บางพึ่งพาคำแนะนำ ของ "กูรู" / บล็อกเกอร์
หรือ บุคคลที่ดูเหมือนจะประสบความสำเร็จ โดยไม่ วิเคราะห์ข้อมูล ไม่พิจารณาความเสี่ยง หรือตัดสินใจด้วยตัวเองเลย
และ
✅ จงจำไว้ว่าบางทีเขาไม่ได้บอกเราทุกอย่าง เช่น เขาบอกให้เราซื้อหุ้น ก บอกราคาซื้อด้วย แต่เขาไม่ได้บอกว่าเราควรจะขายเมื่อไหร่ ซึ่งบางทีเขาขายทำกำไรไปนานแล้ว แต่เรายังถือหุ้นตัวนั้นอยู่เลยก็มี

2. ฝังใจกับอดีตในหุ้นตัวเดิมๆ
นักลงทุนมักจะมีความผูกพันกับหุ้นตัวเดิมๆ ที่เคยลงทุนไปแล้ว แม้ว่าราคาหุ้นจะตกหรือ บริษัทจะมีปัญหาก็ยังไม่อยากขาย เพราะกลัวขาดทุน หรือหวังว่าราคาหุ้นจะกลับมา
ผลลัพธ์: สูญเสียเงินต้น, พลาดโอกาสทำกำไรในหุ้นตัวอื่น, ลงทุนไม่ประสบความสำเร็จ

อีกหนึ่งตัวอย่าง นักลงทุนมักจะมีหุ้นที่ตัวเองไม่ถูกชะตา หรือเคยเจ็บมาก่อน จุดนี้เองทำให้เราฝังใจ แล้วไม่กลับไปมองหุ้นตัวนี้อีกเลย
ตรงนี้เราอาจจะต้องค่อยๆปรับ คอยเฝ้าดูหุ้นตัวนั้น แล้วถ้ามีจังหวะดีเมื่อไหร่ ก็ลองพยายามกลับไปลงทุนในหุ้นตัวนั้นด้วยเงินน้อยๆก่อนก็ได้ ซึ่งถ้าเรากำไรสักครั้งหนึ่ง ก็จะลบฝันร้ายนั้นไปได้ และไม่พลาดโอกาสที่จะทำกำไร

วิธีเอาชนะ:
ตั้งเป้าหมายการลงทุนที่ชัดเจน, มีแผนการซื้อขาย,
ตัดสินใจขายหุ้นเมื่อถึงเวลา, ไม่ควรยึดติดกับหุ้นตัวเดิมๆ, กระจายความเสี่ยง

3 .ไม่กล้าซื้อหุ้นราคาสูง
นักลงทุนมักจะมีความคิดว่า หุ้นราคาสูงนั้น มีราคาต่อหน่วยแพง กลัวว่าจะได้ต้นทุนที่สูงเกินจริงไป กลัวว่าจะซื้อแล้วขาดทุน จึงไม่กล้าซื้อ แม้ว่าหุ้นนั้นจะมีพื้นฐานดี มีโอกาสเติบโตสูงก็ตาม

วิธีแก้ไข: ศึกษาข้อมูล, วิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐา, ประเมินมูลค่าหุ้น, เปรียบเทียบราคาหุ้นในกลุ่มธุรกิจเดียวกัน กับมูลค่าที่แท้จริง, ตัดสินใจลงทุนโดยใช้เหตุผล ไม่ใช้อารมณ์
จำไว้ว่า: ราคาหุ้นไม่ได้บ่งบอกถึงมูลค่าที่แท้จริงของบริษัท

4 .ไม่ทำตามแผนที่วางไว้
บางครั้งปัญหาในการลงทุนของเรามันอาจจะไม่ใช่ความรู้ในการลงทุน แต่มันอาจเกิดจากความไม่มั่นคงทางจิตใจของเรา อาจแบ่งสาเหตุได้ 2 อย่างคือ

ความกลัว เช่น กลัวขาดทุน, กลัวราคาจะลงไปมากกว่านี้, กลัวไม่ได้หุ้นตามราคาที่ต้องการ เช่น เราวางแผนไว้ว่าถ้าราคาหุ้น ข ลงมาที่แนวรับที่เราวางแผนไว้ว่าจะซื้อ แต่พอหุ้น ข ลงมาที่แนวรับนั้นจริง ๆ เรากลับไม่กล้าซื้อ เพราะกลัวว่าราคาจะลงต่อ และกลัวว่าซื้อไปแล้วหุ้นจะไม่ขึ้น ก็เลยไม่ได้ซื้อหุ้น หลังจากนั้นพอวันต่อมา กลับมาดูหุ้นตัวราคามันก็ขึ้นไปไกลแล้ว แบบนี้มันทั้งน่าเสียดายและน่าเจ็บใจ

ความโลภ เช่น สมมติว่าเรามีหุ้น ค อยู่ในพอร์ต โดยมีทุนอยู่ที่ราคา 4 บาท และเราวางแผนว่าจะไปขายที่แนวต้านที่ราคา 6 บาท แต่พอราคาหุ้นขึ้นมาที่ 6บาท แล้วเรากลับไม่ขาย เพราะเรากลัวว่าราคาหุ้นจะขึ้นไปอีก แบบนี้ถ้าราคาหุ้นไม่ขึ้นต่อ แถมยังปรับตัวลงมาอีก ก็น่าเสียดาย

5 .Overtrade ซื้อขายบ่อยเกินไป
การเทรดมากเกินไป เกิดขึ้นจากความที่เรามั่นใจตัวเองมากเกินไป เช่น ในช่วงนั้นเราอาจจะเทรดเข้าเป้าทุกตัว เข้าตัวไหนก็กำไรไปหมด ความมั่นใจนี้เองมันเลยทำให้เราไม่ยอมหยุดเทรด แล้วทำให้เรายิ่งเทรดไม้ใหญ่มากขึ้นเรื่อย ๆ เกินความเสี่ยงที่ตัวเองรับได้ แล้วเมื่อผิดทางขึ้นมาทำให้เกิดความเสียหายกับพอร์ตอย่างมหาศาล ซึ่งอาจจะทำให้พอร์ตเราไม่โตและอาจจะไปถึงขั้นขาดทุนถึงเงินทุนเลยก็เป็นไปได้

วิธีแก้ก็คือ ให้เรากำหนดแผนการลงทุนอย่างชัดเจนก่อนการลงทุนทุกครั้ง ห้ามซื้อขายถ้ายังไม่มีแผนการลงทุนที่ชัดเจนเด็ดขาด

🩷 เรามีเครื่องมือแบบเซียนๆ เพื่อวิเคราะห์หุ้นที่จะลงทุนอย่างรอบคอบ ทั้งด้านปัจจัยพื้นฐาน จังหวะเข้าซื้อหรือกราฟเทคนิค และการติดตามข่าวสาร
ให้เครื่องมือของเรา ช่วยเซฟเวลาให้ท่านได้
ลองใช้งาน *ฟรี* ที่นี่ -> https://deepscope.com/th/dashboard/

แหล่งข้อมูล
https://elearning.set.or.th/SETGroup/courses/1044/info
pubhtml5.com/wbuwn/qslh/
https://apthai.com/th/blog/know-how/type-of-investment


Share this article: